วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แผนการสอนชีวะ

แผนการสอนรายวิชา ชีววิทยาของเซลล์ 258212

คำอธิบายรายวิชา
รายวิชา ชีววิทยาของเซลล์ ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์ ชนิดและหน้าที่ของเซลล์และออร์แกแนนลล์ สารเคมีที่เป็นโครงสร้าง และส่วนประกอบของเซลล์โปรคาิริโอต และยูคาริโอต เทคนิคการศึกษาโครงสร้างของเซลล์ นิวเครียสและโคโมโซม การสืบพันธุ์และการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ รวมทั้งความแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ด้วย

วัตถุประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้างต่างๆ ของเซลล์และออร์แกเนลล์
2. เพื่อให้ทราบถึงหน้าที่ การทำงานและความสัมพันธ์ของออร์แกเนลล์ต่างๆ ภายในเซลล์
3. เพื่อให้ทราบถึง กลไกการทำงานของเซลล์โปรคาริโอตและยูคาริโอต
4. เพื่อให้ทราบถึงวิธีการ และกระบวนการต่างๆ ในการศึกษาเซลล์
5. เพื่อให้ทราบกระบวนการแบ่งเซลล์แบบต่้างๆ
6.เพื่อให้สามารถนำวิธีไปประยุกต์ใช้และในการศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การวัดผล
คะแนนทดสอบย่อย 30 คะแนน
รายงานปฏิบัติการ 30 คะแนน
คะแนนสอบปลายภาค 40 คะแนน




วิธีการสอน
ปฏิบัติสัปดาห์ละ 1 คาบ คาบละ 3 ชั่วโมง


เกณฑ์การตัดสิน
อิงทั้ งกลุ่มและเกณฑ์ อาศัยคะแนนดิบ ค่าเฉลี่ยและ T‐score และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน









แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อเรื่อง
1
เราจะศึกษาเซลล์อย่างไร
2
ชนิดและหน้าที่ของเซลล์
3
การแบ่งเซลล์
4
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส
5
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


ดาวพุธ (Mercury)
เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเฉลี่ย 58 ล้านกิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาเพียง 88 วัน และใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 59 วัน ไม่มีบรรยากาศ

ดาวศุกร์ (Venus)
เป็นดาวเคราะห์ที่เป็นฝาแฝดกับโลก อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 108 ล้านกิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาเพียง 224.7 วัน และใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 243 วัน บรรยากาศประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มีความกดดันเป็น 100 เท่า



ดาวโลก (The Earth)
เป็นดาวเคราะห์ที่สามในระบบสุริยะ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 150 ล้านกิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาเพียง 365.24 วัน และใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 1 วัน บรรยากาศประกอบด้วยออกซิเจนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจนประมาณ 79 เปอร์เซนต์ คาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นเล็กน้อย


ดาวอังคาร (Mars)
เป็นดาวเคราะห์ที่สี่ในระบบสุริยะ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 228 ล้านกิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาเพียง 687 วัน และใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 24.6 ชั่วโมง บรรยากาศเบาบางเพียง 7 ใน 1000 ส่วนประกอบด้วย ไนโตรเจนประมาณ 2.7 เปอร์เซ็นต์ คาร์บอนไดออกไซด์ 9.5 เปอร์เซนต์ก๊าซอื่นและไอน้ำ


ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
เป็นดาวเคราะห์ที่ห้าในระบบสุริยะ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 778 ล้านกิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 4332.6 วัน และใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 9.8 ชั่วโมง บรรยากาศ ส่วนประกอบด้วย ไฮโดรเจน แอมโมเนีย และมีเทน



ดาวเสาร์ (Saturn)
เป็นดาวเคราะห์ที่หกในระบบสุริยะ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 1427 ล้านกิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 29,457 ปี และใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 10.2 ชั่วโมง

ดาวยูเรนัส (Uranus)
เป็นดาวเคราะห์ที่เจ็ดในระบบสุริยะ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 2871 ล้านกิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 84 ปี และใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 15.5 ชั่วโมง บรรยากาศประกอบด้วยก๊าซมีเทน


ดาวเนปจูน (Neptune)
เป็นดาวเคราะห์ที่แปดในระบบสุริยะ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 4497 ล้านกิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 165 ปี และใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 15.8 ชั่วโมง บรรยากาศประกอบด้วย ไนโตรเจนและมีเทน

ดาวหาง(Comets) ประกอบด้วย
-ใจกลาง (Nucleus)
-ส่วนหัว (Coma)
-ส่วนหาง (Tail)